TKP HEADLINE

การย้อมผ้าสีมะเดื่อ

การย้อมผ้าสีมะเดื่อ โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น 

มีขั้นตอนดังนี้

1. การเตรียมวัตถุดิบ

       เปลือกมะเดื่อโดยใช้วิธีการถากเปลือก  ปริมาณ 7 ส่วน ต่อน้ำ 15 ลิตร ควรสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ  จากนั้นนำมาใส่ในหม้อต้ม เติมน้ำให้ท่วมวัตถุดิบ ก่อนที่จะนำไปใช้ย้อมจะต้องนำมากรองก่อนเพื่อไม่ให้มีเศษวัสดุเจือปนในเข้าไปในเส้นไหม

2. การเตรียมน้ำย้อม

       นำเปลือกมะเดื่อปริมาณ
7 ส่วน ต่อน้ำ 15 ลิตร โดยเติมน้ำลงไปให้ท่วม แล้วนำขึ้นตั้งไฟ ต้มจนกว่าน้ำจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อน้ำลดลงครึ่งหนึ่งแล้ว เติมน้ำอีกครั้งให้ทั่วเปลือกมะเดื่อ และต้มต่อไปจนน้ำลดลงครึ่งหนึ่ง และก็จะได้น้ำสีมะเดื่อที่พร้อมที่จะย้อม ส่วนผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อมต้องเตรียมโดยต้มในน้ำเดือดประมาณ 30 นาที นำมาบิดให้หมาด กระตุกให้ตึง 2 - 3 ครั้ง แล้วจึงนำลงไปย้อมในหม้อสีต่อไป ข้อควรระวังต้องไม่ทิ้งให้ผ้าหรือเส้นใยแห้งเพราะความชื้นจากน้ำจะช่วยประสานให้น้ำสีซึมเข้าเส้นใยได้ดีขึ้น หากส่วนใดแห้งจะเกิดรอยด่างของสีย้อมขึ้นได้

อ่านต่อ...



ขนมกลีบดอกลำดวน

ขนมกลีบดอกลำดวน

ขั้นตอนวิธีการทำ ขนมกลีบดอกลำดวน

1.ร่อนแป้งกับน้ำตาลไอซิ่งก่อน ร่อนทั้งหมด 3 ครั้งเพื่อให้ทั้งน้ำตาลและแป้งเข้ากันดี

2.ใส่น้ำตาลไอซิ่งลงไป ส่วนเกลือใส่ทีหลังจากที่ร่อนแล้ว

3.ให้ร่อนแป้งกับไอซึ่งรวมกัน 3 รอบ ร่อนครั้ง 1 ถึง 3

4.จากนั้นใส่เกลือลงไปแล้วใช้ตระกร้อมือหรือไม้พายคนให้เกลือเข้ากับส่วนผสมแป้งทั่วๆ จะได้ไม่เค็มเป็นหย่อม

อ่านต่อ..



วัดเกียรติแก้วสามัคคี

 วัดเกียรติแก้วสามัคคี

วัดเกียรติแก้วสามัคคีเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2484 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2525 ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดแห่งที่ 7 ตามมติมหาเถรสมาคมและเป็นที่ตั้งของสำนัก ศาสนศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประจำอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมีพระครูศรีรัตนาภิรักษ์ เป็นเจ้าอาวาส

วัดเกียรติแก้วสามัคคี  ตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้าน ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากพุทธศาสนิกชน 3 หมู่บ้าน  คือ หมู่บ้านตะเคียนใต้ หมู่ที่ 2 (รวมคุ้มโนนคำแก้ว) หมู่บ้านเหล็ก หมู่ที่ 10 และหมู่บ้านตะเคียนเหนือ หมู่ที่ 12 เป็นอย่างดีเสมอมา ไม่มีใครทราบได้เลยว่าสร้างขึ้นมาเมื่อปีใด  แต่สืบทราบจากสมุดบันทึกของพระครูรัตนภูมิพิจารณ์ (ชัด วรญาณโณ) อดีตเจ้าคณะตำบลศรีแก้วเขียนไว้วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2509  อ่านต่อ..




สวนลุงจิน พาลี

 สวนลุงจิน พาลี

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บุคคลต้นแบบที่นำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต คุณพ่อจิน พาลี ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน โดยน้อมนำปรัชญาแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช มาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน โดยมีหลักการว่า มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี เน้นอาหารบริโภค ที่มีความหลากหลาย ปลอดสารเคมี ที่เหลือจำหน่ายเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว ไม่พึ่งพาอบายมุข สร้างความสุขหรรษา มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แบ่งปัน และมุ่งมั่นสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อ่านต่อ...




ทุเรียนภูเขาไฟ ไร่สร้างฝัน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

 ทุเรียนภูเขาไฟ ไร่สร้างฝัน

อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”   คือทุเรียนที่ปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเทือกเขาพนมดงรัก  (อำเภอกันทรลักษ์, อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ) ซึ่งเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินจึงมีลักษณะเหนียวสีแดง ระบายน้ำดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า 50-100 เมตร ในการให้น้ำผลไม้ จึงส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี นอกจากนั้นด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศของจังหวัดที่ไม่ชื้นจนเกินไป แสงแดดที่มีความเข้มแสงสูง และพืชได้รับแสงต่อวันที่ยาวนาน ทุเรียนจึงดูดธาตุอาหารจากดินมาช่วยสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื้อทุเรียนที่ได้ จึงอุดมไปด้วย ธาตุอาหาร และวิตามินที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ เกิดเป็นทุเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ กล่าวคือ  เนื้อทุเรียนแห้งและนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน อ่านต่อ...




การจักสานตะกร้าไม้ไผ่

การจักสานตะกร้าไม้ไผ่

 การจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน การจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การเรียนรู้ต่างๆ สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น คงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจักสานตะกร้าไม้ไผ่ ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น เกิดจากความคิดในการนำเอาไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในหมู่บ้าน นำมาแปรรูปเป็นตะกร้า อ่านต่อ...




วัดป่าไผ่เจริญสมณกิจ

 วัดป่าไผ่เจริญสมณกิจ

ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองกี่ ตำบลยาง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 33130

ภายในวัดมีรูปปั้น "พญาสิริกันทรานาคราช" พญานาคแห่งอำเภอกันทรารมย์ มนต์ขลังแห่งนาคาอีกแห่งหนึ่ง และประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องงามที่สุดของศรีสะเกษ อ่านต่อ...




การทอผ้าขาวม้า

 การทอผ้าขาวม้า

     ผ้าขาวม้าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นเพศชายแต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปมีการเอาผ้าขาวม้ามาดัดแปลงตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าไว้สวมใส่หรือเอามาตัดเย็บเป็นกระเป๋าต่าง ๆ ตามแฟชั่นนิยมสามารถใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงหรือจะใช้เป็นของฝาก ของขวัญในเทศกาลสำคัญก็ได้  กลุ่มสัมมาชีพในชุมชนบ้านเมืองฝางหมู่ 1 ได้จับกลุ่มกันทอผ้าขาวม้าเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มแม่บ้านที่ว่างจากงานพอมีเวลาก็จะออกมาช่วยกันทอผ้าขาวม้าจำหน่าย แรก ๆ ก็จะมีงบประมาณให้จากหน่วยงานราชการ พอทอเสร็จก็จำหน่ายพอได้เงินมาเป็นต้นทุนในการซื้อด้ายเพื่อนำมาต่อยอดสินค้า ถ้ามีเงินเหลือจากการลงทุนก็จะนำมาแบ่งกันในกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งทางกลุ่มแม่บ้านจะขายผ้าขาวม้าที่ทอเสร็จแล้วผืนละ 200 บาท ส่วนมากก็เป็นคนในชุมชนที่มาซื้อเพราะทุกวันนี้คนในชุมชนนิยมเอาผ้าขาวม้ามาตัดเป็นเสื้อไว้สวมใส่ในงานต่าง ๆ อ่านต่อ...




ผ้าทอลายขิด

  ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน บางส่วนของภาคเหนือและภาคกลางของไทย นับว่าเป็นศิลปะพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นภาพ ลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ชาวอีสานถือว่าในกระบวนการทอผ้าด้วยกันแล้ว การทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญ และมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น ๆ เพราะทอยากมาก มีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนมากกว่าการทอผ้าธรรมดา เพราะต้องใช้เวลา ความอดทน และความละเอียด ลออ มีกรรมวิธีที่ยุ่งยากทอได้ช้า และผู้ทอต้องมีประสบการณ์และพรสวรรค์ในการทอ อ่านต่อ...




เกวียนน้อย บ้านใจดี

 เกวียนน้อย บ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

        เกวียน เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่มีล้อเลื่อน อายุเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มี 2 ล้อ เคลื่อนที่ไปโดยใช้วัวหรือควายเทียมลากไป โดยปกติใช้วัว หรือควาย จำนวน 2 ตัว เกวียนใช้เป็นพาหนะ สำหรับการเดินทาง ตามตำนานกล่าวว่ามนุษย์รู้จักใช้ล้อมาก่อน ยุคประวัติศาสตร์ส่วนเกวียนที่เทียมสัตว์และรถศึกมีปรากฏแน่ชัดในสมัยกรีกและโรมันในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นของไทย มีวรรณคดี พงศาวดาร หลายเรื่องที่กล่าวถึงเกวียน เช่นใน เรื่องพระร่วงส่งส่วยน้ำ คนไทยได้ใช้เกวียนบรรทุกส่วยไปบรรณาการขอมผู้ มีอำนาจในสมัยหลัง ๆ สมุหเทศาภิบาลใช้"เกวียนด่าน" เดินทางจากอุบลราชธานี มายังกรุงเทพฯ โดยนั่งเกวียนคันหนึ่งมาแล้วเปลี่ยนนั่งคันใหม่ต่อกันเป็นทอดๆ ยุคนั้นยังไม่มีรถยนต์ เกวียนถูกใช้เป็นพาหนะในการ ไปตรวจราชการท้องที่ของข้าราชการ อ่านต่อ...




สำนักสงฆ์ป่าพะเยียว

 สำนักสงฆ์ป่าพะเยียว ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติสำนักสงฆ์ป่าพะเยียว

สำนักสงฆ์ป่าพะเยียว ก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2551 ณ บ้านพะเยียว หมู่ที่ 2 ตำบลใจดีอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 15 ไร่ มีการแบ่งพื้นที่ภายในสำนักสงฆ์ให้ญาติโยมได้มาใช้ประโยชน์แก่วัดและชุมชน มีหัวหน้าสำนักสงฆ์ ดังนี้ อ่านต่อ...




Smart Farmer ต้นแบบ ด้านเกษตรผสมผสาน/เศรษฐกิจพอเพียง

 Smart Farmer ต้นแบบ ด้านเกษตรผสมผสาน/เศรษฐกิจพอเพียง

        เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการทำการเกษตรแบบผสมผสานด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การประมง การทำปุ๋ยหมัก ซึ่งเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรในชุมชนและเกษตรกรทั่วไปปี พ.ศ. 2550 จุดเริ่มต้นจากการทำนาเพียงอย่างเดียวแล้วเกิดวิกฤติเกี่ยวกับสภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ได้ผลผลิตข้าวลดลง จึงเกิดแรงบันดาลใจในการคิดหาวิธีการปรับเปลี่ยนอาชีพการเกษตรจากการทำนาเพียงอย่างเดียวมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน จากนั้นจึงได้เริ่มดำเนินการขุดบ่อเลี้ยงปลา (ปลาดุก) ทำบ่อเลี้ยงกบ พร้อมทั้งได้มีการปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกผักสวนครัว กะหล่ำปลี มะเขือพวง พริก เลี้ยงโค เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับครัวเรือน โดยได้มีการพัฒนาต่อยอดด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงได้สร้างที่พักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย อ่านต่อ...




องค์พระแก้วเนรมิตวัดลำภู

 องค์พระแก้วเนรมิตวัดลำภู 

ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

       หากพูดถึงพระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ คงมีใครหลายๆ คนที่อยากรู้จักอยากเข้ามากราบไหว้สักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ซี่งมีบุคคลที่ให้ความสนใจ และแวะเวียนเข้ามาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย ด้วยความที่เป็นวัดคู่บ้าน คู่เมืองอำเภอขุขันธ์ มาช้านาน และมีพระพุทธรูปองค์พระแก้วเนรมิตและองค์พญาครุฑประดิษฐาน งั้นเราไปเรียนรู้องค์พระแก้วเมรมิตองค์ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองอำเภอขุขันธ์กันค่ะ อ่านต่อ...




วัดลำภู(รัมพนีวาส) ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสเกษ

 วัดลำภู(รัมพนีวาส) ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสเกษ

วัดลำภู(วัดรัมพนีวาส)  เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2134 (ก่อนตั้งเมืองขุขันธ์) ปัจจุบันอายุราว 425 ปี กล่าวคือตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีพระภิกษุประทาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ปัจจุบันยังพอมีหลักฐานที่ปรากฎหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดนี้ว่ามีอายุนับเป็นร้อยๆปีมีอยู่หลายอย่าง ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ปราสาท 2 หลัง เป็นพระธาตุเจดีย์ศิลปล้านช้างตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของโบสถ์ในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2546 เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรได้นำเอาก้อนอิฐจากพระธาตุเจดีย์ทั้ง 2 องค์ไปทำการศึกษาวิจัยดูความเก่า อ่านต่อ...




การทำขนมเทียนโบราณ

 การทำขนมเทียนโบราณ

ถ้าพูดถึง ขนมเทียน หลายๆท่านคงเคยทานหรือทำด้วยตนเองมาบ้างแล้ว เพราะกรรมวิธีในการทำไม่ยาก และโดยส่วนมากจะเรียนรู้และสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น สำหรับขนมเทียน ทางภาคอีสานของเรา มักจะห่อขนมเทียนเพื่อไปทำบุญตักบาตร ในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ และช่วงเทศกาลใหญ่ๆ เช่น สารทเดือนสิบ ของทุกๆปี เพื่อเป็นการเซ่นไหว้ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งยังทำไว้เพื่อต้อนรับลูกหลานที่กลับมาจากต่างจังหวัดไว้รับประทานอีกด้วย เนื่องจาก ขนมเทียน เป็นขนมพื้นบ้านประจำถิ่น กรรมวิธีหรือการทำบางท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกันออกไป อ่านต่อ...




ผ้าเบญจศรี ของดีศรีสะเกษ

 ผ้าเบญจศรี ของดีศรีสะเกษ

ป็นผ้าทอพื้นถิ่นศรีสะเกษ ที่นำเอาวัสดุธรรมชาติที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ 5 ชนิด มาย้อมไหมหรือฝ้าย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน ขับเคลื่อนฐานรากของคนศรีสะเกษ วัสดุธรรมชาติได้แก่ ผลมะเกลือ ดินปลูกทุเรียนภูเขาไฟ ดินทุ่งกุลา ใบลำดวน เปลือกไม้มะดัน ย้อมและทอด้วยเส้นไหมหรือฝ้ายด้วยช่างฝีมือชาวบ้าน ยกดอกเป็นลายลูกแก้ว ย้อมผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ ก่อเกิดเป็น ผ้าทอ 5 ชนิด โดยนำเอาชื่อต้นขอ
งจังหวัด คือ “ศรี” เป็นคำนำหน้าชื่อได้ อ่านต่อ...


ผ้าหางกระรอกจกดาว

ผ้าหางกระรอกจกดาว

ชุมชนบ้านนวลออ ตำบลละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษ เป็นชุมชนเผ่ากูย ที่มีการดำรงคงไว้ซึ่งการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าชนเผ่าสืบทอดกันมาจากรุ่นปู่ย่าและมีวิวัฒนาการในการพัฒนาภาคพื้นเมืองมาทุกยุคทุกสมัย

ผ้าหางกระรอกจกดาวถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาจากลายผ้าดั้งเดิมซึ่งมีกระบวนการเทคนิคพิเศษในระหว่างการทอ คือ การนำเอาผ้าหางกระรอกและผ้าขิด มาจกรวมกันเป็นผืนเดียวกันซึ่งในระหว่างทอจะใช้วิธีการจกในเครือหูก โดยจะใช้ความชำนาญของผู้ทอ ทำให้ผ้าชนิดนี้กลายเป็นผ้าอัตลักษณ์เฉพาะของตำบลละเอาะ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศของกระทรวงวัฒนธรรม เป็นตัวการันตี อ่านต่อ...




วัดดอนแก้วห้วยวะ

วัดดอนแก้วห้วยวะ

ป่าชุมชนโนนสำโรง หมู่ 7 มีพื้นที่ป่าประมาณ 300 ไร่ เป็นชุมชนที่ขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดในตำบลกล้วยกว้าง ป่าชุมชนแห่งนี้มีลำห้วยวะไหลผ่าน ชาวตำบลกล้วยกว้างหลายหมู่บ้านและตำบลข้างเคียง ได้ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนโนนสำโรงแห่งนี้ เพราะเป็นแหล่งอาหาร ยาสมุนไพร เช่น เห็ดป่า หน่อไม้ ผลไม้ป่า ส่วนสมุนไพร เช่น ย่านางแดง เครือเอ็นอ่อน ครอบจักรวาล อ้อยดำ ครั่ง สาบเสือ ก้างปลาเครือ หนามเล็บแมว โด่ไม่รู้ล้ม เป็นต้น และยังมีไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้มะดัน ที่ใช้ย่างไก่ เพราะไม้มะดันมีรสเปรี้ยวเวลาย่างยางในไม้มะดันจะซึมออกใส่ตัวไก่ที่ย่าง ทำให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ต่อมามีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา โดยเกิดจาการรวมตัวกันของคนในหมู่บ้านเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ในเขตชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นไม้ สัตว์ต่างๆ แหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร อ่านต่อ...




วัดบ้านปราสาท

 วัดบ้านปราสาท ตั้งอยู่ภายใน 256 หมู่ 12 ถนนปราสาท ธารปราสาท ห้วยทับทัน ศรีสะเกษ 30240 ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท จากตัวเมืองศรีสะเกษเดินทางไปตามทางหลวงสาย 226 ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยทับทันปราสาทบ้านปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน หรือ ปราสาทบ้านโนนธาตุ) เป็นปราสาทขอมโบราณแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาทพนาราม ในท้องที่บ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน "เทพเจ้าตีมูรติ" ตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ อ่านต่อ...




วัดป่าประชารังสรรค์(หลวงปู่ห้วย)

วัดป่าประชารังสรรค์(หลวงปู่ห้วย)

พ.ศ.2483-2494 วัดประชารังสรรค์ เดิมทียังเป็นสำนักสงฆ์การพัฒนาไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร สมัยก่อนบริเวณแห่งนี้ยังเป็นป่าดงดิบ ชาวบ้านเรียกว่า หัวเลย มีปู่เจ้าหัวเลยรักษาอาณาบริเวณนี้อยู่ และเป็นที่ยำเกรงของชาวบ้านแถบนี้เป็นอย่างมาก เมื่อถึงเทศกาลฤดูฝนจะมีการบวงสรวงเจ้าปู่หัวเลยเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ต่อมามีข้าศึกทางเมืองเขมร ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงได้ยกทัพมาทันกันที่หัวเลย จึงได้ตั้งชื่อใหม่เป็นทางการว่า ห้วยทัพทัน เมื่อเป็นชุมชนเกิดขึ้น จึงเปลี่ยนจากห้วยทัพทัน เป็น ห้วยทับทัน อ่านต่อ...




วัดบ้านหยอด

 วัดบ้านหยอด : โบราณสถานโบราณวัตถุตำบลเหล่ากวาง-อำเภอโนนคูณ-จังหวัดศรีสะเกษ

       สำหรับการตั้งวัดบ้านหยอดหลังจากการตั้งหมู่บ้านได้ ๔ ปี ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๔ -๒๔๗๕ ชาวบ้านจึงได้ปรึกษากันเกี่ยวกับการตั้งวัด ได้ชื่อวัดบ้านหยอด ให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน เลยได้เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน เพื่อการติดต่องานราชการได้ง่าย และสะดวกขึ้น ซึ่งมีหลวงปู่แดง  เป็นพระที่วัดจึงตกลงกันที่จะสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ หลังจากนั้นได้มีการสร้างเสนาสนะต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ ตามลำดับ อ่านต่อ...




วัดบ้านหนองปลาเข็ง

       วัดบ้านหนองปลาเข็ง ตำบลโพธิ์ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านเดินมีเนื้อที่เพียง  ๔ ไร่ ๒ งาน โดยมีพระอธิการโต๊ะ  กิตฺติญาโณ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้เริ่มนำประชาชนชาวบ้านหนองปลาเข็งพัฒนาด้านถาวรวัตถุจนเป็นปึกแผ่นมั่นคง สมบูรณ์ทั้งกุฎิแฝดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๔ เมตร และสร้างโรงอุโบสถ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร หลังคาสองชั้นพร้อมทำรั้วล้อมรอบวัดด้วยไม้เนื้อแข็ง อ่านต่อ...





โบราณสถาน วัดหลวงปู่อ้วน

โบราณสถาน  วัดหลวงปู่อ้วน  ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ  จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติ หลวงพ่ออ้วน โสภโณ วัดบ้านโนนค้อ    พระเกจิร่วมสมัยหลวงพ่อมุม

"พระครูโสภณคุณากร"หรือ"หลวงพ่ออ้วนโสภโณ"วัดบ้านโนนค้อ อ.กันทรารมย์ (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโนนคูณ) จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังของเมืองศรีสะเกษ ยุคเดียวกับหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ และหลวงพ่ออ่อน วัดเพีย มาตร อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่งท่านทั้งสามเป็นสหมิกธรรมกันชาติภูมิ หลวงพ่ออ้วน เกิดในสกุล สืบวงศ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2434 ตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ณ บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 1 บ้านโนนสังข์ ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โยมบิดา-มารดา ชื่อ คุณพ่อจูมและคุณแม่ทุม สืบวงศ์ ครอบครัวมีพี่น้อง 5 คน เมื่ออายุ 16 ปี ท่านบรรพชาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2450 ณ วัดโพนทราย ต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีเจ้าอธิการสุวัณณี กัลป์ยาโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ อ่านต่อ...



วัดบ้านเหล่าเสน

วัดบ้านเหล่าเสน

ตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

                สำหรับการตั้งวัดบ้านเหล่าเสนหลังจากการตั้งหมู่บ้านได้ ๕ ปี ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕ -๒๔๗๖ ชาวบ้าน จึงได้ปรึกษากันเกี่ยวกับการตั้งวัด ชื่อเดิมของวัดคือ วัดสว่างอารมณ์ อยู่นานไปการเรียกชื่อไม่สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน เลยได้เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน เพื่อการติดต่องานราชการได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งมีพ่อใหญ่บัว หมุดหมั้น เป็นหัวหน้าจึงตกลงกันที่จะสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ หลังจากนั้นได้มีการสร้างเสนาสนะต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ ตามลำดับและในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้เริ่มก่อสร้างมหาเจดีย์พระธาตุศรีโนนคูณ กว้าง ๔๕ เมตร สูง ๕๙ เมตร ในยุคนี้ถือเป็นยุคทองของวัดบ้านเหล่าเสนในการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  อ่านต่อ...




การทอผ้าคลุมไหล่จากเส้นด้าย

 การทอผ้าคลุมไหล่จากเส้นด้าย

ชื่อภูมิปัญญา : การทอผ้าคลุมไหล่จากเส้นด้าย ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ผ้าพื้นบ้าน ผ้าทอด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้าน ตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มักทอด้วยฝ้ายหรือไหม ผ้าพื้นบ้านหรือผ้าทอมือมีกรรมวิธีการทอต่างๆกัน เช่น ทอเรียบๆไม่มีลาย เรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลายเรียก ผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจก เรียก ผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิด เรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวยลายด้วยการมัดย้อม เรียก ผ้ามัดหมี่ เป็นต้น ผ้าพื้นบ้านของไทยในภาคอีสาน มีกรรมวิธีการย้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น เปลืกต้นประดู่ ลูกมะเกลือ การทอผ้าสอดคล้องกับขนบประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งมีรูปแบบและการใช้สอยต่างๆกัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าเบี่ยง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม เป็นต้น อ่านต่อ...




รำแม่มด

 รำแม่มด

เป็นพิธีกรรม...อย่างหนึ่งของชาวอำเภอไพรบึงเชื้อสายเขมรมีความเชื่อว่าคนทุกคนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นอยู่ประจำในขณะมีชีวิตอยู่ซึ่งเรียกว่าเป็นครู หรือ "กรู” ในภาษาเขมร และเมื่อเสียชีวิตไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษก็ยังวนเวียนอยู่เพื่อคอยปกป้องดู และลูกหลานของตน ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบสัมมาอาชีพ ตามความเชื่อนี้ชนเผ่าเขมรจึงมีความเคารพและไม่ล่วงเกินต่อกันและกัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำผิดต่อครูซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบุคคลอื่น อ่านต่อ...




ผู้นำต้นแบบ คุณภัทรศักดิ์ สอนภักดี

 ผู้นำต้นแบบ

คุณภัทรศักดิ์ สอนภักดี

“โคก หนอง นา โมเดล” จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ ที่สถาบันเศรษฐกิจ พอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระ ราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่การเกษตร การออกแบบพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล จะคำนึงถึง “ภูมิสังคม” เป็นสำคัญ“ภูมิ” คือ สภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม สังคม คือ วัฒนธรรม ความเชื่อภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งในการออกแบบจะให้ความสำคัญกับ “สังคม”มากกว่า “ภูมิ” คือต้องออกแบบตามสังคมและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ แม้ว่าภูมิประเทศจะเหมือนกันก็ตาม หากสังคมต่างกัน การออกแบบก็จะต่างกันโดยสิ้นเชิง อ่านต่อ...




วัดปราสาทเยอเหนือ

 วัดปราสาทเยอเหนือ

ตั้งอยู่ในกิ่ง อ.ไพรบึง อายุประมาณ 200 กว่าปี สร้างขึ้นโดยชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเยอที่ได้รับอารยธรรมทางขอมมา ดังนั้น สิ่งก่อสร้างในวัดจึงคล้ายคลึงศิลปะแบบขอมโบราณผสมสมัยใหม่ โดยวัดมีความเจริญมากในสมัยที่หลวงพ่อมุมปกครองดูแล เพราะศรัทธาในวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย มักน้อย สันโดษ พูดน้อย แต่มีเมตตาสูงมาก อีกทั้ง นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกฐินต้นในจังหวัดและวัดปราสาทเยอเหนือก็เป็นวัดแรกที่ทรงพระราชทานกฐินต้นอีกด้วย อ่านต่อ...




บึงนกเป็ดน้ำ

 บึงนกเป็ดน้ำ

ตั้งอยู่บ้านสวาย ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 221 ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าเส้นทาง หลวงหมายเลข 2111 ไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร จะพบบึงอยู่ทางซ้ายมือและยังมีบึงนกเป็ดน้ำอีกแห่งหนึ่งที่บ้านกู่ อำเภอ ปรางค์กู่ ทางด้านหน้าของปรางค์กู่เป็นสระน้ำขนาดใหญ่สร้างด้วยศิลา มีนกเป็ดน้ำเป็นจำนวนมากในฤดูแล้ง อ่านต่อ..




การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ

 การย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ...การนำเอาวัตถุดิบในธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และแร่ธาตุต่างๆ มาทำการย้อมกับเส้นด้าย เพื่อนำมาใช้ในการทอผ้า เพิ่มสีสันให้กับเส้นด้ายให้มีความสวยงาม ซึ่งมีการสืบทอดเทคนิควิธีการย้อมมายังคนรุ่นหลัง เป็นวิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน ด้วยภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนได้นำเอาองค์ความรู้ในการย้อมสีผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาสู่ลูกหลาน และเป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพ อ่านต่อ..




สวนเอกอินท์ อินทผลัม

 สวนเอกอินท์ อินทผลัม 

  สวนเอกอินท์ อินทผลัม มะขามป้อมยักษ์ และโคโลคาเซีย อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ พันธุ์บาร์ฮี ถ้าหากจะพูดถึงสถานที่ที่เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย เที่ยวได้ทุกช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี แถมที่แห่งนี้มีที่ถ่ายภาพสวยๆเต็มไปด้วยผลไม้อินทผลัมเรืองอร่าม และยังมีบริการอาหาร ร้านกาแฟ ที่เที่ยวก็มีให้เลือกเพียบ เรียกว่าไปกี่ทีก็ไม่เคยเบื่อ... ที่นั่นก็คือ “สวนเอกอินทร์” อำเภอที่ใคร ๆ ก็หลงรัก อ่านต่อ..



สวนไทยนาทองดี

 สวนไทยนาทองดี

วันหยุดยาวหากจะหาสถานที่เที่ยวที่เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย เที่ยวได้ทุกฤดู แถมบรรยากาศสบายๆ รายล้อมด้วยธรรมชาตินาข้าวเขียวขจี เราขอแนะนำที่เที่ยวที่อยู่ใน อำเภอ เล็กๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ “อำเภอพยุห์”ต้องบอกเลยว่า ใครมาก็ติดใจอยากจะมาอีก นอกจากอากาศดี ธรรมชาติสวยแล้ว อาหารและเครื่องดื่มก็อร่อย ทั้งการเดินทางที่แสนง่าย ใช้เวลาขับรถจากตัวเมืองศรีสะเกษ ไม่ถึง 1 ชั่วโมง ก็ได้สัมผัสธรรมชาติและท้องนาที่สวยงามแล้ว แถมยังที่ถ่ายรูปที่สวยงามสถานที่ ดีไซน์สุดคูล ให้ได้ถ่ายรูป เช็คอินกันอีกด้วย อ่านต่อ...




กลุ่มสตรีทอผ้ามือด้วยไหมย้อมสีธรรมชาติ

     กลุ่มสตรีทอผ้ามือด้วยไหมย้อมสีธรรมชาติ บ้านโนนสามัคคี หมู่ที่ 18 ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีแนวคิดจะทำผ้าทอมือให้เป็นเอกลักษณ์ของฝีมือและแรงงาน เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การปลูกต้นหม่อน การเลี้ยงไหม กลางน้ำ คือ การสาวไหมขึ้นด้วย จนถึงปลายน้ำ คือ การทอไหม ล้วนเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ และใช้ฝีมือแรงงานของคนในชุมชนอย่างแท้จริงด้วยความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นผ้าไหมออร์แกนิกที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง ใช้สีย้อมจากแหล่งธรรมชาติและใช้กระบวนการการทอมือแบบโบราณ สีที่ใช้ย้อมไหม เป็นสีธรรมชาติ อ่านต่อ...




โคกหนองนาโมเดล ครัวเรือนต้นแบบ

 โคกหนองนาโมเดล ครัวเรือนต้นแบบ นางเอื้องไพร  แสงสิงห์

        นางเอื้องไพร  แสงสิงห์  เกษตกรบ้านหนองนาทอง หมู่ที่ 14  ตำบลตำแย อำเภอพยุห์  จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นเกษตรครัวเรือนต้นแบบที่ได้น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร โดยได้ขุดคลองไส้ไก่ล้อมลอบพื้นที่ และเลี้ยงปลาในบ่อพักน้ำที่ใช้ในการเกษตร และดำรงชีวิตแบบพอเพียงจนได้รับคัดเลือกให้เป็นครัวเรือนต้นแบบของอำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ อ่านต่อ...




ศูนย์ปฏิบัติธรรมวังศิลา สวนป่าศรีนครลําดวน

ศูนย์ปฏิบัติธรรมวังศิลา สวนป่าศรีนครลําดวน ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรไทย วัดดวนใหญ่(วัดพระธาตุศรีนครลําดวน), แต่งกายด้วยผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมือง ร่วมกิจกรรม ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ณ วัดป่าวังศิลา ต.บุสูง อ.วังหิน จังหวัดศรีสะเกษ อ่านต่อ...




การสร้างเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยสมุนไพร

 การสร้างเศรษฐกิจครัวเรือนด้วยสมุนไพร นายนิคม ทูลภิรมย์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอวังหิน

นายนิคม ทูลภิรมย์เกิด วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2494 อายุ 71 ปี

อดีตผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านทุ่ง ตําบลวังหิน อําเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

(ข้าราชการบํานาญ)

ระดับการศึกษา ปริญาตรี ศศ.บ. บริหารการศึกษา มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 156 หมู่ที่ 2 ตําบลดวนใหญ่ อําเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

ความรู้ความสามารถพิเศษ/ภูมิปัญญาไทย : เป็นประธานเครือข่ายหมอพื้นบ้านในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและเขตพื้นที่ใกล้เคียง อ่านต่อ...




พระยาไกรภักดีศรีนครลําดวน (ตากะจะ)

พระยาไกรภักดีศรีนครลําดวน (ตากะจะ)

พระยาไกรภักดีศรีนครลําดวน เดิมชื่อ "ตากะจะ" เป็นหัวหน้าเขมรส่วยป่าดง หมู่บ้านโคกลําดวนหรือบ้านดวนใหญ่ในปัจจุบัน มีน้องชายชื่อ เชียงขนธ์ ทง ๒พี่น้อง มีความชํานาญในการคล้องช้างเพื่อจับมาฝึกใช้งาน โดยใช้พิธีกรรมปลุกเสกคาถาใช้ภาษาช้าง พูดกับช้างที่ถูกฝึกมาแล้วได้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ได้อาสา ออกติดตามพญาช้างเผือก ในสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ร่วมกับสหายชาวส่วยเขมรป่าดง เช่นเชียงปุม แห่ง บ้านเมืองที่เชียงสีแห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะ แห่งบ้านดงยาง จนสามารถจับพญา ช้างเผือก นํากลับกรุงศรีอยุธยา ได้อย่างปลอดภัย จึงได้รับ พระกรุณาโปรด เกล้าฯ อ่านต่อ...




กลุ่มอาชีพการเย็บกระเป๋าผ้าบ้านสะมัด

 กลุ่มอาชีพการเย็บกระเป๋าผ้าบ้านสะมัด 

มีนางลออง อรทัย เป็นวิทยากร ให้ความรู้มีผู้สนใจเรียนการตัดเย็บเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะการเย็บกระเป๋าผ้า ซึ่งมีความสวยงาม สดใส และมีรูปแบบการตัดเย็บไม่ยากมาก ผู้จบการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพแล้ว สามารถลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้/ต่อยอดอาชีพเดิมและเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ได้และกศน.ตําบลวังหินได้ส่งเสริมด้านการตลาดให้กับกลุ่ม โดยสร้างเพจออนไลน์ขายกระเป๋าของกลุ่มอาชีพโดยเฉพาะ ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อมายังที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ตามเพจ อ่านต่อ...




ผ้าไหมมัดหมี่ลายหมี่ขอ(ลายตะขอ)

 ผ้าไหมมัดหมี่ลายหมี่ขอ(ลายตะขอ)

                ของบ้านตาโกน เกิดจากวิถีชีวิตของชุมชนในการตักน้ำขึ้นมาใช้จากบ่น้ำโดยการนำเอากิ่งไม้ที่มีตะขอที่สามารถยึดถึงน้ำเอาไว้ไม่ให้หลุดออกเพื่อดึงน้ำขึ้นมาใช้ในวิถีชีวิต ชาวบ้านจึงนำมาเป็นต้นแบบในการมัดหมี่ลายหมี่ขอ เดิมเรียกลายหมี่ตะขอ ปัจจุบันเรียกว่า มัดหมี่ลายหมี่ขอ ดั้งเดิมลายหมี่ขอมีอยู่7ลำ ย้อมด้วยสีธรรมชาติเพียงสีเดียวแต่ปัจจุบันลายหมี่ขอมีหลายแบบจาก7ลำเพิ่มเป็น9ลำ11ลำและ13ลำและสีสันก็เพิ่มขึ้นอีกจากหนึ่งสีเป็น2-3สีและมีการผสมผสนานจากลายหมี่ขออย่างเดียวก็มีการนำลายอื่นมาผสมอยู่ในผืนผ้าแต่เราก็ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ อ่านต่อ...




ผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ

ผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ

ผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ เป็นผ้าไหมพื้นบ้านทอมือชาวกูย

เป็นผ้าทอลายในตัว ย้อมสีดำด้วยมะเกลือ มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่มีสีดำมันวาวมีลวดลายสวยงาม ผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า แพรเหยียบ หรือ ผ้าเหยียบ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานนิยมนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อแขนยาว อ่านต่อ...




ดอกไม้หมก

 ดอกไม้หมก

   เป็นเรื่องบอกเล่ากันมาช้านานหลายอายุคน ในกลุ่มของเผ่ากูย"ส่วย"คนเผ่ากูยรู้จักนำดอกไม้ใบไม้ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมมาทำเป็นดอกไม้ให้มีกลิ่นหอมชวนดมสำหรับคนหนุ่มสาววัยชราเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความรักของ"กะมอล"(หญิงสาว)ที่มอบให้กับ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)ซึ่งเป็นเรื่องเล่าต่อกันมา

       จากคำบอกเล่ามีอยู่ว่า"กะมอล"(หญิงสาว)มีชื่อว่าคำแสนเป็นหญิงสาวที่สวยงามเป็นที่ต้องใจของ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)ในหมู่บ้านละแวกนั้นและ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)แต่ละคนก็อยากเห็นตกกลางคืนจะมีหนุ่มมาเที่ยวสาวโดยการเป่าแคนเป็นเพลงขอความรักให้"กะมอล"(หญิงสาว)ซึ่งกำลังตำข้าวในเวลากลางคืนฟังหลายวันหลายคืนผ่านไป อ่านต่อ...




ไหว้พระธาตุเมืองจันทร์และนมัสการหลวงพ่อพระพุทธเจ้าใหญ่ทำบุญรวมญาติ

ไหว้พระธาตุเมืองจันทร์และนมัสการหลวงพ่อพระพุทธเจ้าใหญ่ทำบุญรวมญาติ

ตำบลเมืองจันทร์  มีศิลปวัตถุโบราณคู่บ้านคู่เมือง คือ พระธาตุเมืองจันทร์ ซึ่งประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์และตำบลใกล้เคียงให้ความเคารพและชาวเมืองจันทร์เชื่อว่าโบราณสถานดังกล่าวเป็นที่บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษที่เป็นผู้ก่อตั้งชุมชนแห่งนี้ 

ชาวเมืองจันทร์จัดได้ร่วมกันจัดงานทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์และนมัสการพระเจ้าใหญ่ เป็นประจำทุกปี งานทำบุญรวมญาติไหว้พระธาตุเมืองจันทร์และนมัสการหลวงพ่อพระพุทธเจ้าใหญ่ วัดบ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อ่านต่อ...




การจก หรือ การเล่นสาว

 การจก หรือ การเล่นสาว การจีบสาว

      พิธีการแต่งงานของชาวเมืองจันทร์-ตาโกน การเลือกครู่ครอง ในอดีตกวย กูย จะมีประเพณีการจก (การเล่นสาวหรือการจีบสาว) นอกจากประเพณีการจกแล้วในอดีตหากเกิด ความรักกันจนถึงขั้นจะกินอยู่เป็นสามีภรรยากัน จะต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อน แล้วจึงจะนำเรื่องไปบอกกับพ่อแม่ ให้รับทราบ แต่ปัจจุบัน สภาพที่เคยปรากฏในอดีตเริ่มเลือนหายเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจและคลื่นวัฒนธรรมใหม่ ตลอดจนทัศนคติของคนในหมู่บ้านที่เปลี่ยนไป พิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ การทาบทามสู่ขอ เมื่อตกลงกันแล้วเห็นว่าทั้งคู่มีความเหมาะสมกัน พ่อแม่ของฝ่ายชายจะให้นาย "ไจมฮา" เป็นผู้ไปทาบทามพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง  พิธีเกี่ยวกับการหมั้น เมื่อทาบทามฝ่ายหญิงแล้วและฝ่ายหญิงตอบตกลงแล้ว ฝายหญิงจะเรียกสินสอดตามฐานะของฝ่ายชาย อ่านต่อ...




เจ้าแม่กูยรำแกลมอ

 เจ้าแม่กูยรำแกลมอ

พิธีกรรมแกลมอ เป็นประเพณีของชาวบ้านตรึม เรียกตามภาษาถิ่นว่าแกลมอมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า พิธีกรรมเหล่านี้มีมานานแล้วพวกชาวไทยกูยรับถ่ายทอดต่อเนื่องกันมาเป็นทอดๆและปฏิบัติกันมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยจัดขึ้นใน 3 โอกาส คือ เป็นการเคารพบูชาครูอาจารย์ ปู่ ย่า ตา ยายที่เคารพ เมื่อถึงวันสำคัญในรอบปีก็ดำเนินพิธีกรรมขึ้นปีละ1ครั้งในวันขึ้น 8หรือ15ค่ำเดือนยี่ของทุกปี เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลทุกข์สุขเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาผู้ป่วย อ่านต่อ...




วัดบ้านเมืองจันทร์

วัดบ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

อยู่ห่างจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 42 กิโลเมตร(ถนนหลวงหมายเลย 226 แยกอุทุมพรพิสัย – เมืองจันทร์)

บ้านเมืองจันทร์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปทรงกลม โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเมือง ประมาณ 400 เมตร 2 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ มีความสูงประมาณ 131 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ของชุมชนมีหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ตลอดทั้งปี สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นภายหลังเพราะบางส่วนของหนองน้ำทั้งสองแห่งซ้อนทับอยู่กับแนวคูเมืองโบราณ และห่างจากแนวคูเมืองด้านทิศใต้ออกไปประมาณ 1.3 กิโลเมตร มีลำน้ำธรรมชาติที่ไหลลงสู่ห้วยทับทันทางทิศตะวันตก อ่านต่อ..




ปรางค์กู่สมบูรณ์

 ปรางค์กู่สมบูรณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเนรัญชราวนาราม อ.บีงบูรพ์ จ.ศรีสะเกษ

ประวัติความเป็นมา ปรางค์กูสมบูรณ์หรือยู่บ้านหนองคู สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณปี พ.ศ. 1650-1700 สันนิษฐานว่าคงจะสร้างในเวลาใกล์เคียงกับปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่เพื่อใช้เป็นเทวสถานหรือเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์  อ่านต่อ...




วัดป่าเนรัญชรา

 วัดป่าเนรัญชรา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่บริเวณใกล้กับปรางค์กู่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี มีพื้นที่รอบบริเวณวัด 15 ไร่วัดป่าเนรัญชรา หรือ วัดป่าเนรัญชราวนาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540-2542 โดยการนำสร้างของหลวงพ่อหมอ หรือพระครูวีรญาณโสภณ เจ้าอาวาส ตามที่ท่านได้นิมิต โดยต้องการให้เรือที่ชื่อ เรือพิฆาตสังสารวัตฎ หมายความว่า เป็นศูนย์รวมปฏิบัติธรรมพิฆาตกิเลส ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 อ่านต่อ...




วัดศรีบึงบูรพ์ พุทธสถานมรดกอีสานใต้ สักการะพระพุทธชินราชจำลอง

 วัดศรีบึงบูรพ์ พุทธสถานมรดกอีสานใต้ สักการะพระพุทธชินราชจำลอง

    วัดศรีบึงบูรพ์ ตั้งอยู่ริมลำน้ำห้วยทับทัน บ้านโนนสาวสวย หมู่ที่ 4 ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นวัดที่สร้างขึ้นจากความประสงค์ของ พระอาจารย์ศรี จันทสาโร ที่ตั้งใจอยากจะสร้างพุทธสถานและเทวสถานเพื่อเป็นที่บำเพ็ญเพียรของพระสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอีกด้วย ด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรม และธรรมชาติรอบด้าน จึงทำให้ที่นี่นับเป็นหนึ่งในวัดสวยแห่งอีสานทางใต้ที่น่าไปทำบุญกราบไหว้  ตลอดทางเข้าไปใน วัดศรีบึงบูรพ์ อ่านต่อ...




การทอผ้าไหม ศูนย์ทอผ้าไหมจิโรจน์

 การทอผ้าไหม ศูนย์ทอผ้าไหมจิโรจน์

ศูนย์ทอผ้าไหมจิโรจน์  เป็นศูนย์ผลิตและจำหน่ายผ้าไหม สินค้าที่ผลิตจากผ้าไหมของอำเภอบึงบูรพ์ ก่อตั้งเมื่อ นายวิโรจน์ โชติพันธ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ จึงถือว่าเป็นศูนย์ทอผ้าไหมแห่งแรกของอำเภอบึงบูรพ์ และเป็นศูนย์ทอผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอบึงบูรพ์ โดยมีอาคารโรงทอผ้าไหม 2 หลัง และอาคารจำหน่ายสินค้า จำนวน 1 หลัง เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานเกี่ยวกับผ้าไหมได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน มีนางเจียมใจ พรหมคุณ เป็นประธานศูนย์ อ่านต่อ...




ศาลพ่อเมืองปรางค์กู่ปู่พรหมจรรย์

 ศาลพ่อเมืองปรางค์กู่ปู่พรหมจรรย์  

สถานที่ตั้ง  หมู่ 1 ตำบลพิมาย  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของส่วนราชการ  เป็นศาลที่ชาวอำเภอปรางค์กู่ ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก 

     ประวัติความเป็นมา

     อำเภอปรางค์กู่ในสมัยก่อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าที่มีลักษณะเป็นป่าโนน ที่มีความร่มเย็น น่าอยู่อาศัย และมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ซึ่งคนในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และได้แกะสลักพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชาวงอำเภอปรางค์กู่ขึ้นจำนวน 3 องค์ ปัจจุบันได้เชิญไปประดิษฐ์สถานที่วัดบ้านพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  อ่านต่อ...




ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand